วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

   👉 บันทึกการเรียนครั้งที่ 12  👈


อาทิตย์เป็นครั้งสุดท้ายที่เรียน อาจารยืให้นำแผนปแก้ไข บอกจุดพบกพร่อง และทำส่ง ใส่มาตรแต่ละแผนแต่ละวันว่าควรทำอย่างไร กิจกรรมเป็นอย่างไร กลุ่มดิฉันนำแผนไปแบ่งกันแก้ไขและนำส่งอาจารย์


ประเมินอาจารย์ บอกคำแนะนำในการทำแผน ว่าควรทำอย่างไร 

ประเมินตัวเอง มีการตั้งใจฟังและเก็บข้อมูลมากขึ้น

   👉 บันทึกการเรียนครั้งที่ 11  👈


อาจารย์ให้นักศึกษานำโบรชัวมาทำสื่อสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา อาจารย์กำหนดหมวดมาให้ 3 หมวด ดังนี้

1.ของใช้ทั่วไป 2.อาหาร 3.เครื่องใช้ไฟฟ้า


กลุ่มของดิฉันได้ทำ หมวดอาหาร 





จบกิจกรรมนี้ เราสามารถนำเป็นเป็นสมุดคำศัพท์ของเด็กได้ และมีคำเตือนท้ายเล่ม เพื่อให้เด็กๆเรียนรู้ว่าไม่ควรทำ และ ปฏิบัติอย่างไรตอนทานอาหาร 

ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนเทคนิคในการทำสื่อใหม่ๆ  ขึ้นมาให้เป็นผลงานเด็ก

ประเมินตัวเอง ได้เก็บเทคนิคใหม่ๆ ไปใช้ทำกิจกรรม


  👉 บันทึกการเรียนครั้งที่ 10  👈


อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมกลุ่มตามที่เพื่อนได้ออกแบบมาจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้สลับกันทำกิจกรรมของเพื่อน โดยเวียนไปทางซ้าย


ดิฉันได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับหน่วยของร่างกาย

มีอุปกรณ์ดังนี้ 


กิจกรรมนี้ทำอย่างไร ก็ได้ให้ร่างการต่อการโดยใช้ กระดาษ กระเกียบ และ หลอด ทำเป็นฟันเฟื่องในารเคลื่อนไหวร่างกาย  กลุ่มของดิฉันทำออกมาแบบนี้ น่ารักมากๆ 555555




เรามาดูอุปกรณ์กลุ่มอื่นดีกว่าจ้า 



ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีการตั้งคำถามให้เราตอบคำถาม

ประเมินตนเอง มีการทำงานที่ไม่เคยลองทำ สนุกสนานดี






 👉 บันทึกการเรียนครั้งที่ 9  👈


 อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มคิดกิจกรรมตามแนวทางการสอนแบบ STEM 

ดิฉันทำเรื่องการลอยการจม ใช้ของเหลือใช้ในการนำมาทำให้ตัววัสดุลอยได้ อาทิตย์นี้เป็นการนำเสนอให้อาจารย์ฟัง ยังไม่ต้องเอาอุปกรณ์มา
    

หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมทำหลอดให้ทำยังไงก็ได้ ให้ดินน้ำมันกลมๆสามารถกลิ้งได้นานที่สุด โดยมีการจับเวลา

โดยอาจารย์กำหนด อุปกรณ์ ดังนี้ 1.หลอด25อัน 2.เทปใส

ดิฉันได้วางแผนว่าจะทำแบบ สไลด์เดอร์ลงมา เลยระดมความคิดกันตัดหลอด ใส่หลอดภายในกลุ่ม

จนสำเสร็จออกมาเป็นแบบนี้ กลุ่มฉันทำเวลาไปได้ 4 วินาที จ้า


เดี่ยวเอามาดูกลุามอื่นทำกิจกรรมกันเลยจ้า




ประเมินอาจารย์ อาจารยืให้ข้อคิดในเรื่อง STEM มาเป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการวางแผนเป็นขั้นตอนต่างๆ สุ่การปฎิบัติจริง

ประเมินตัวเอง มีการได้ร่วมมือกันทำและใช้แนวคิดในการทำงาน







    👉 บันทึกการเรียนครั้งที่ 8  28 /09/2563  👈

อาทิตย์นี้อาจารย์ให้ นำเสนอ การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป  โดยแบ่งตามกลุ่ม อาจารย์มีการให้จัดการนำเสนอมาส่งอาจารย์ ในรูปแบบใดก็ได้ แต่ละกลุ่มได้หัวข้อไม่เหมือนกัน แต่กลุ่มดินฉันได้แนวการสอนแบบไฮ/สโคป


แนวการสอนแบบไฮสโคป  (High/Scope)
        การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคน  การเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว  การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก  6  ขวบแรก  เป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแล  และสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  ด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องแจ้งชัด  ลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็ก  ใจเด็ก  และอนาคตเด็ก
        การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้  แต่เป็นการจัดประสบการณ์อย่างมีรูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ  พัฒนาสมรรถนะทางปัญญา  และพัฒนาจิตนิยมที่ดี  การเรียนการสอนสำหรับปฐมวัย มีหลากหลายรูปแบบ  แต่สำหรับรูปแบบที่ผู้เขียนจะนำเสนอนั้นก็เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง  รูปแบบการเรียนการสอนที่ว่านั้นก็คือ  รูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป

ความเป็นมา
        การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป  เป็นแนวคิดการจัดการศึกษาที่พัฒนามาจากโครงการ เพอรี่ พรีสคูล (Perry Preschool Project) เมืองยิปซีแลนติ (Ypsilanti) รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1960 โดย เดวิด ไวคาร์ด (David Weikart) และคณะ เป็นโปรแกรมการศึกษาที่มีหลักสูตรและการสอนเน้นการเรียนรู้โดยใช้หลักการสร้างความรู้ (constructive process) จากการกระทำ ที่ต้องมีการร่วมกันคิดร่วมกันทำตามแผนที่กำหนด ซึ่งต่อมาได้มีผู้นำรูปแบบการศึกษาของไฮสโคปไปใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงการนำมาใช้กับการเรียนการสอนระดับปฐมวัยศึกษาด้วย

แนวคิดพื้นฐาน
            การสอนแบบไฮ/สโคป มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory)ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้น  เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย ซึ่งจากแนวคิดนี้ ในการเรียนเด็กสามารถเลือกเรียนเลือกปฏิบัติจัดกระทำดำเนินการเรียนรู้และประเมินผลงานของตนเอง  เด็กจะได้รับการกระตุ้นจากครูให้คิดนำอุปกรณ์มากระทำหรือเล่นด้วยการวางแผนการทำงาน แล้วดำเนินตามแผนไว้ตามลำดับพร้อมแก้ปัญหาและทบทวนงานที่ทำด้วยการทำงานร่วมกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมีครูคอยให้กำลังใจ  ถามคำถาม  สนับสนุน และเพิ่มเติมสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้ 

แนวคิดสำคัญ
        แนวการสอนแบบไฮ/สโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย  ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

การเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง  โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3  ประการ  คือ
-             การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย  มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก  ว่าจะทำอะไร อย่างไร  การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก  เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
-              การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา  ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง  เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง
-              การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์  ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่  มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร  และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ  และผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ
            การที่เด็กได้ลงมือทำงามหรือกิจกรรมด้วยความสนใจ  จะทำให้เด็กสนุกกับการทกงาน  การทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข
สรุป
        การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป  สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ทุกกิจกรรม เพราะกระบวนการและวิธีการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กเปิดกว้างมีการคิดการปฏิบัติ ตามวงจรของการวางแผน  การปฏิบัติ และการทบทวน ( plan-do-review cycle ) เมื่อทำกิจกรรมแล้วเด็กสามารถที่คิดกิจกรรมอื่นต่อเนื่องได้ตามความสนใจ  จุดสำคัญอยู่ที่ประสบการณ์การเรียนรู้ ( Key  experience ) ที่เด็กควรได้รับระหว่างกิจกรรม  ซึ่งครูต้องมีปฏิสัมพันธ์และกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมให้มากที่สุด
        การเรียนการสอนทุกรูปแบบต่างก็ส่งผลต่อเด็กในการเรียนรู้  แต่สิ่งที่มุ่งหวังให้เด็กได้รับอย่างน้อยต้องส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคมและสติปัญญา เพื่อการเรียนรู้ที่ดีและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้มีความคิดอิสระสร้างสรรค์  ริเริ่ม  ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบจะมีจุดเน้นสำคัญของรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ
            ครู คือบุคคลที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  หากรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องภาวะการเรียนรู้ของเด็กและครูมีความเข้าใจในรูปแบบการเรียนการสอน ก็จะเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น




บรรยากาศในการนำเสนอวิธีการสอน










การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

ความหมาย การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง


หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่

    หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น จากการสังเกตเด็ก จึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียน ที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน


จุดมุ่งหมายของการศึกษา

            ช่วยพัฒนา หรือให้เด็กมีอิสระในด้านบุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย"สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระบบมอนเตสเซอรี่ คือ การจัดระบบเพื่อสะท้อนถึงศักยภาพที่แท้จริง และความต้องการของเด็ก เพื่อเด็กจะได้พัฒนาบุคลิกภาพของเขาลักษณะการสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติตามพัฒนาการของเด็ก เด็กมีอิสรภาพในการเลือกจากสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งต่างๆ ซึ่งสนองความพอใจ และความต้องการภายในของเขา เป็นการจัดระบบของตนเอง เพื่อเด็กจะได้ปรับตัวเข้ากับสภาพของสังคมและสิ่งมีชีวิตต่างๆ


แนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ (Waldorf)

3.แนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ  (Waldorf)

        นวัตกรรมการศึกษาแนววอลดอร์ฟ มีรากฐานมาจากมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) โดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner) โรงเรียนแนววอลดอร์ฟแห่งแรกตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยการสนับสนุนของเอมิล มอลล์ (Emil Molt) การศึกษาแนววอลดอร์ฟมีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ครูวอลดอร์ฟจึงเริ่ม ต้นยามเช้าด้วยการมาแต่เช้าเพื่อเตรียมห้องเรียน และร่วมกันท่องบทกลอน เพื่อย้ำเจตจำนงความตั้งใจในการปฏิบัติอาชีพครู และบางครั้งในบางโอกาส ในตอนเย็น ครูก็จะท่องกลอนเพื่อนำพาจิตใจให้สงบ ครูวอลดอร์ฟรุ่นพี่ๆจะแนะนำครูรุ่นน้องเสมอว่า หากเธอมีปัญหาที่แก้ไขได้ยากกับเด็กๆในห้องเรียนของเธอ ควรพาปัญหานี้กลับไป หลับฝันไปกับปัญหานี้ เผื่อว่า...ในยามค่ำคืน โลกจิตวิญญาณที่เธอได้สัมผัสยามที่เธอหลับ จะช่วยเธอได้..ด้วยเชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ หากเริ่มต้นด้วยความตั้งใจ มีเจตจำนงอันมุ่งมั่นเพื่อจะทำสิ่งนั้น การงานเหล่านั้นย่อมขับเคลื่อนต่อไปได้เหมือนล้อหมุนได้ขยับขับออกจากที่จอดแล้ว ระหว่างทางเป็นประสบการณ์ที่น่าเก็บเกี่ยว เพลิดเพลินเผชิญอุปสรรคไปอย่างคนรู้ตัว ฝึกสติไปกับการงานที่ทำตรงหน้า ยิ้มรับกับโชคชะตาที่ได้มาเดินในเส้นทางสาย “ ครู ”




กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
 
 
 
     1. ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่อง ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษาในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้น ด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็น   ที่ต้องการศึกษาจึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่จะ ช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่อง หรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
 
     2. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป
 
     3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือวาดรูป สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
 
     4. ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มาก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
 
     5. ขั้นประเมิน (evaluation)เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ การนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่นๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งก่อให้เป็นประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลัก และหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป
 



การประเมินอาจารย์ อาจารย์มีการขยายเพิ่มเติมในส่วนของเนื้อหา และ เพิ่มเติมการสอนให้เราเข้าใจขึ้น มีความรู้ขึ้น


การประเมินตนเอง มีความรู้เพิ่มมากขึ้น  และ จำแนวการสอนไปปรับปรุงใช้




  👉 บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 21/09/2563  👈


อาทิตย์นี้อาจารย์ให้เข้ากลุ่มตกลงกันว่า เราจะทำในหน่วยอะไร ซึ่งกลุ่มเราทำหน่วยสัตว์น้ำ มีการแบ่งกันเีบนแผนการสอน ดิฉันได้วันศุกร์ 





อาจารย์ให้เขียนแผนแล้วก็มีการนำเสนอ ท้ายคาบเพื่อทการสอนจริง ในแผนเสริมประสบการณ์ 

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีการสอนเขียนแผนและให้คำแนะนำ

ประเมินตนเอง ในการเขียนแผนเรายังไม่ค่อยคล่อง แต่ได้เทคนิคใหม่ๆ



วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

   👉 บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 07/09/2563  👈


ในอาทิตย์นี้อาจารย์ให้ทำ  2 กิจกรรม 


1 กิจกรรมฝึกร้องเพลง ให้เด็กอยู่ในความสงบ อาจารย์มีการสอนร้องเพลงและให้เราปฎิบัติตามร้องตาม มีการคิดท่าทางประกอบเพลงเอง เพื่อนำไปสอน


กิจกรรมที่ 2 คือ ให้คิดนำเสนอกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยและนำมาเสนออาจาย์ เพื่อให้อาจารยืประเมินว่าผ่านไหม สามารถนำไปใช้กับเด็กได้ไหมคะ 


การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย

ศิลปะมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัย ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กจะได้พัฒนาร่างกายในส่วนหลัก ๆ คือ การทำงานประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา กล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาการทางด้านอารมณ์ คือการได้ชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงาม พัฒนาการทางด้านสังคม คือ เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักรอคอยที่จะใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่นและเรียนรู้การแบ่งปัน พัฒนาการทางด้านสติปัญญา คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ รูปทรง ความกว้าง ความยาว ความสูง ขนาด (เล็ก-ใหญ่) พื้นผิว (เรียบ-ขรุขระ-หยาบ) เป็นต้น

ศิลปะสร้างสรรค์ยังส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิด รู้จักทำและรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีความประณีตและความเป็นระเบียบ สิ่งที่สำคัญในการจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็ก คือ การคำนึงถึงตัวเด็กและการเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมต่อความถนัด ความสนใจตามธรรมชาติกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน กิจกรรมต้องสามารถยืดหยุ่นได้ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดตามจินตนาการและได้ทำงานอย่างอิสระ ควรเน้นการทำงานเป็นกระบวนการมากกว่าผลผลิต เช่น เวลาที่เด็กได้วาด ได้เขียน และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ๆ อย่างมีความสุขสนุกสนาน จะมีความสำคัญมากกว่าผลงานที่คุณครูหรือผู้ปกครองคาดหวังว่าจะต้องสวยงาม เรียบร้อยตามแบบอย่าง เพราะการสร้างสรรค์ผลงานของเด็กเป็นการลองผิดลองถูก และเรียนรู้การแก้ปัญหาตลอดเวลา ส่วนการแก้ปัญหาของเด็กนั้นอาจมีถูกมีผิดบ้าง ตามแต่ความสามารถในการสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กค่อย ๆ พัฒนางานสร้างสรรค์ได้ดีขึ้นในระดับสูงต่อไป

จุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังได้ใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างสมดุล ซึ่งจะไม่เน้นผลงานที่สวยงามหรือเหมือนของจริง แต่เน้นให้เด็กได้พัฒนาครบทุกด้านจากการทำกิจกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้

  • เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการให้เด็กรู้จักสังเกตและแสดงออกตามความถนัด
  • เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก
  • เพื่อพัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
  • เพื่อฝึกให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่ม ทำงานเป็นขั้นตอน และมีความประณีตในการทำงาน
  • เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • เพื่อพัฒนาความมั่นใจ กล้าแสดงออกและส่งเสริมการใช้ภาษาในการอธิบายเกี่ยวกับผลงานของตนเอง
xประเมินอาจารย์ 

อาจารย์มีการแก้ไขปรับปรุงและชี้แนวทาง





 

      👉 บันทึกการเรียนครั้งที่ 12   👈 อาทิตย์เป็นครั้งสุดท้ายที่เรียน อาจารยืให้นำแผนปแก้ไข บอกจุดพบกพร่อง และทำส่ง ใส่มาตรแต่ละแผนแต่ละวั...